องค์กรที่ลูกน้องไม่กล้าเสนอไอเดียใหม่ๆ กิจการขาดความมั่นใจ จากการเสนอไอเดียแล้วเจ้านายไม่รับฟังและถูกมองข้าม
ส่งผลให้การสื่อสารที่ดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ลูกน้องขาดกำลังใจในการทำงาน และขาดความภาคภูมิใจ มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในที่ทำงาน
บ่อยครั้งที่เกิดจากการตัดสินของหัวหน้า ตัดสินความสามารถของลูกน้องตามความคิดเห็นของตนเอง เป็นการปิดโอกาสที่ลูกน้องจะเข้าหาหัวหน้างาน
การรับฟังแบบไม่ตัดสินเป็นการเปิดโอกาสในการรับฟัง เพื่อให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น ให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ๆ
หลายครั้งที่หัวหน้าไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมทำอะไรบางอย่างกับลูกน้อง แต่ลูกน้องกลับไม่ตอบสนอง ไม่มีคำตอบมีเพียงความเงียบ แท้ที่จริงแล้วลูกน้องอาจจะเคยเสนองานมาก่อนแล้ว แต่ถูกตัดสินโดยหัวหน้า ไม่มีใครรับฟังไอเดียของลูกเขา ทำให้ขาดความมั่นใจและไม่กล้าเสนอไอเดียอีก
วิธีการที่จะรับฟังลูกน้องด้วยความเข้าใจเพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการทำงาน และสบายใจทั้งสองฝ่าย
7 วิธี การฟังแบบไม่ตัดสิน
- ตั้งสติ
การตั้งสติด้วยการเซ็ตความตั้งใจในการพูดกับลูกน้องว่า การคุยหรือการประชุมในครั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้องและตัวเราเองได้แลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกัน จดจ่ออยู่กับเจตนาที่ตั้งใจ เพื่อให้การพูดคุยเริ่มด้วยความรู้สึกที่เป็นบวก เกิดความรู้สึกที่ดีจากภายในจะทำให้ลูกน้องสัมผัสได้ถึงแววตา ท่าทางในการพูด และคำพูดในการสื่อสารของคุณ
- แยกข้อเท็จจริงออกจากสิ่งที่ได้รับรู้
การตัดสินเกิดขึ้นตลอดเวลาและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการที่จะช่วยในการแยกข้อเท็จจริงคือ พูดเรื่องที่เกิดขึ้นจริงจากการสังเกต
ตัวอย่างเช่น
ประโยคตัดสิน…คุณไม่ทำงานทำการมัวแต่คุยโทรศัพท์
การสังเกต…วันนี้ผมเห็นคุณคุยโทรศัพท์ 5 รอบ
ประโยคตัดสิน…ทำงานไม่ได้เรื่องเลย
การสังเกต…ผมส่งงานของคุณให้กับลูกค้าลูกค้าอยากได้แบบนี้ลูกค้าอยากให้ปรับปรุงตรงนี้ให้สวยงามขึ้น
การสื่อสารแบบตัดสิน เป็นการปิดประโยคสนทนาระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เพราะเขาจะมีเสียงตอบโต้อยู่ข้างใน หรืออาจจะอยากพูดออกมาในอารมณ์เชิงลบหรืออาจเกิดการโต้เถียงกัน ตัวอย่างเช่น กรณีโทรศัพท์ลูกน้อง ลูกน้องอาจจะมีธุระด่วนสำคัญทางบ้านถ้ามีการโต้เถียงออกมาว่า คุยธุระบ้างไม่ได้หรืออย่างไร ทำให้การสนทนาจบแบบไม่มีข้อสรุป เพราะฉะนั้นพูดในสิ่งที่สังเกตเห็นว่าเป็นเรื่องจริง
- ความชัดเจน
ถ้าคุณเอามาเฉพาะข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น วันนี้ผมเห็นคุณคุยโทรศัพท์ 5 รอบแล้ว ลูกน้องจะได้ไม่รู้สึกแย่ต่อคุณ เป็นการเปิดโอกาสให้เขาสื่อสาร
- รับฟัง
การที่หัวหน้าผู้เฉพาะข้อเท็จจริงลูกน้องจะรู้สึกอยากอธิบายให้ชัดเจน เปิดโอกาสให้เขาได้เล่าเหตุผลของเขาเช่น เช่น กรณีคุยโทรศัพท์ ลูกน้องจะตอบความจำเป็นของเขาออกมา เขาอาจจะมีความจำเป็นเรื่องอาการป่วยของพ่อที่ต้องสรุปการรักษาร่วมกับญาติพี่น้อง เลยทำให้รับโทรศัพท์บ่อย
เมื่อคุณได้รับคำอธิบายแล้วคุณจะเข้าใจลูกน้องมากยิ่งขึ้น
- เอาคำตัดสินออก
พฤติกรรมของคนเรามีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งเป็นความคิดที่ตัดสินจากภายในผ่านประสบการณ์ การสังเกตเพื่อเอาคำตัดสินออกคือการไม่เหมารวมทุกอย่างมารวมกัน เช่น ลูกของคุณมัวดูทีวี คุณให้เขาทำการบ้านเขาอาจจะทำหรือไม่ทำในบางเวลา ครั้งที่เขาไม่ทำอาจเป็นเพราะเขาไม่ชอบอะไรบางอย่างที่คุณทำ แต่หากเหมารวมว่าลูกขี้เกียจทำการบ้าน เขาจะรู้สึกโต้เถียง แล้วเมื่อเขาได้รับข้อมูลนี้บ่อยๆ คงจะกลายเป็นเด็กที่ขี้เกียจทำการบ้านในที่สุด
- พูดแบบดูเทปบันทึก
ใส่ใจในคำพูดที่ไม่รวมการตัดสิน ให้พูดแบบภาพที่บันทึกจากวีดีโอ พูดเฉพาะสิ่งที่เห็นแบบกล้องวีดีโอ ที่เห็นเฉพาะภาพและเสียงโดยปราศจากการตัดสิน พูดตามภาพที่เห็นแบบไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น
ประโยคตัดสิน…ห้องน้ำน่ากลัวจัง
กล้องวีดีโอ…ห้องสีดำ
ประโยคตัดสิน…ทำงานห่วยมาก
กล้องวีดีโอ…พนักงานคุณหนีเช็คงานซ้ำ 5 รายการ
ประโยคตัดสิน…ลูกน้องคนนี้มีงานจริงๆ
กล้องวีดีโอ…ลูกน้องคนนี้เข้าห้องน้ำ 30 นาที
- รับผิดชอบคำพูด
ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดแต่ข้อเท็จจริงเท่านั้นก็จะทำให้การสนทนาให้สมบูรณ์ การรับฟังทำให้เราเห็นมุมมองของลูกน้อง การพูดความคิดเห็นของเราทำให้ลูกน้องเห็นมุมมองของเรา เช่น ฉันเห็นคุณอยู่ในห้องน้ำ 30 นาที เลยสงสัยว่าคุณทำอะไรในห้องน้ำนานจังเลย
วิธีนี้จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายมีการสื่อสารกันได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
Recent Comments